สมาชิกศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหย เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติสานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 2

      

        เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการนานาชาติสานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 2 “อาหารอาเซียน : จิตวิญญาณที่มากกว่าความเป็นอาหาร" มุ่งแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายพัฒนาต่อยอดงานวิจัย เผยแพร่สู่สาธารณะ มี 7 ชาติอาเซียนเข้าร่วมงาน ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 

                                    

          รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการการและกิจการต่างประเทศ ม.วลัยลักษณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม พร้อมกล่าวว่า เวทีการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอาเซียน การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ตลอดจนพัฒนางานวิจัยไปสู่สาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในระดับอาเซียน เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการ อย่างยั่งยืนต่อไป 

         รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ รักษาการแทนผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นเวทีสาธารณะด้านศิลปะและวัฒนธรรมในการวิจัยและวิชาการให้กับคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอาเซียน การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ตลอดจนพัฒนางานวิจัยไปสู่สาธารณะ ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในระดับอาเซียน นำมาซึ่งการพัฒนาทางด้านวิชาการอย่างยั่งยืน 

                                      

                                 

        ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ “อาหาร ความหลากหลายภูมิปัญญาในอาเซียน”, การจัดเสวนาประเด็น “อาหารอาเซียน”, การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentations) “อาหารอาเซียน” , การจัดแสดงนิทรรศการ วัฒนธรรม “อาหารอาเซียน” และการสาธิตการทำอาหารประจำถิ่น ในกลุ่มประเทศอาเซียน7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดเวทีวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น 

       “อาหารที่ถูกนำมาจัดแสดงในงาน อาทิ ประเทศกัมพูชา มีเมนู “ปลาอามอค” และ “ลาบคเมอ” อินโดนีเซีย มีเมนู “เร็นดัง ดีกิง” และ “โซโต อะยัม” หรือฟิลิปปินส์ มีเมนู “อโบโค” และ “บูโค ปานดาง” ซึ่งทุกเมนูมีความหมายที่ซับซ้อนทางวัฒนธรรม ความคิด และความเชื่อ ถูกสอดแทรกผ่านอาหาร นอกจากนี้วัฒนธรรมอาหารยังเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของอุปนิสัย ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความเชื่อเฉพาะตัวของแต่ละชนชาติทำให้มนุษย์ไม่มองหรือเข้าใจโดยใช้พื้นฐานของตนเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคนต่างวัฒนธรรม”รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ กล่าว 

        ทั้งนี้สมาชิกศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยได้ร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยาย ในหัวข้ออาหารกับสุขภาวะ จำนวน 7 เรื่อง ดังนี้

1. เรื่อง Thai southern spicy rice salad with vegetables: Food heritage for healthconscious people นำเสนอโดย นายอภิราม สินธุพาชี

2. เรื่อง Thai herbal tea as an alternative functional drink นำเสนอโดย น.ส. ปรางทิพย์ ปฤชานนท์

3. เรื่อง The importance of nutritional information to customer health นำเสนอโดย น.ส. รวินันท์ แสงวงศ์งาม

4. เรื่อง Nutritional benefits of stir-fried melinjo leaves with eggs นำเสนอโดย น.ส. สายฝน โพธิสุวรรณ

5. เรื่อง มหัศจรรย์ขมิ้นชันจากการทำสปาพื้นบ้านสู่เมนูอาหารต้านโรค นำเสนอโดย น.ส. ศิริมาศ สุขมาศ

6. เรื่อง Benefits of phenolic compounds in southern Thai dishes นำเสนอโดย น.ส. สิริพร แช่มสนิท

7. เรื่อง Thai rice flour noodle (Kanom chin) as an alternative traditional food for health นำเสนอโดย นายสุเมธี ส่งเสมอ

                                

                                

                                

                                                  

รายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.wu.ac.th/th/news/12098

http://walailakchannel.wu.ac.th/home1/index.php?option=com_content&view=article&id=363:7&catid=91:walailak&Itemid=533

About Saifon Phothisuwan

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.