พลาสมาน้ำมันหอมระเหย

plasma2re_2          งานวิจัยนี้มีขึ้นเพื่อพัฒนาเครื่องกำเนิดพลาสมาสำหรับนำมาใช้ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยสำหรับนำไปเคลือบบนวัสดุเซลลูโลส เช่น ไม้ยางพารา กาบหมาก เพื่อต้านทานการเจริญของเชื้อรา โดยความร่วมมือของห้องปฏิบัติการพลาสมา ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร และห้องปฏิบัติการน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ จากการทดลองศึกษาประสิทธิภาพของไอน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู ร่วมกับพลาสมาเย็นที่กำลังวัตต์ 40 วัตต์เป็นเวลา 10 นาที เพื่อยับยั้งเชื้อรา พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูในปริมาณ 30 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร สามารถป้องกันการเจริญของเชื้อราบนกาบหมากได้นานกว่า 12 สัปดาห์ในขณะที่ชุดควบคุมมีเชื้อราเจริญปกคลุมภายใน 14 วัน   จากการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่าพลาสมาเย็นมีแนวโน้มในการนำมาใช้ในการถนอมอาหารร่วมกับน้ำมันหอมระเหยได้


อ้างอิงจาก

Narumol Matan, Nirundorn Matan, Mudtorlep Nisoa, Tanong Aewsiri. 2014. Effect of cold atmospheric plasma on antifungal activities of clove oil and eugenol against molds on areca palm (Areca catechu) leaf sheath. International Biodeterioration & Biodegradation 86:196-201 (Impact factor: 2.059)

แหล่งทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ และ มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.