สีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหย

 

     งานวิจัยมีขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากอบเชย กานพลู โป๊ยกั๊ก ส้ม และจันทร์เทศ รวมถึงสีน้ำที่สกัดได้จากวัสดุธรรมชาติจำพวกแก่นฝาง ขมิ้นชัน สมอภิเภก ใบส้มป่อย มะเกลือ ดอกคำฝอย มหากาฬ เมล็ดพุด ประดู่ ขมิ้นเครือ และแก่นขนุน ผสมน้ำมันหอมระเหยในการต้านทานเชื้อราที่แยกได้จากไม้ยางพารา (Hevea brasiliensis) ซึ่งได้แก่เชื้อราเสียสี Alternaria sp., Aspergillus sp., Aspergillus niger, Aspergillus flavus, Rhizopus sp., Trichoderma sp., P.chrysogenum, Mucor sp., Clasdosporium sp. เชื้อราผุ Trametes versicolor

      นอกจากนั้นแล้วสีน้ำผสมมันหอมระเหยดังกล่าวยังถูกนำมาทดสอบการต้านทานปลวกบนผิวไม้ยางพาราอีกด้วย การทดลองเพื่อหาค่าปริมาณต่ำสุดของสีน้ำผสมมันหอมระเหยที่สามารถยับยั้งเชื้อราทำโดยการเจือจางสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 50 ถึง 500 ไมโครกรัมลงในหลอดอาหารเหลว จากนั้นจึงบันทึกค่าปริมาณต่ำสุดโดยบันทึกค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ไม่มีการเจริญเติบโตของเชื้อราในหลอดอาหารเหลว ผลการทดลองพบว่าสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยที่ 350 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถยับยั้งเชื้อราเสียสีและราผุได้ดีที่สุดในหลอดทดลอง รองลงมาคือสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูที่ 450 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำความเข้มข้นของสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลูดังกล่าวมาทดลองยับยั้งเชื้อราเสียสี ราผุ และปลวกบนไม้ยางพาราพบว่า ความเข้มข้นของสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยที่ 350 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม และผสมน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู 450 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัมสามารถยับยั้งเชื้อราเสียสีและราผุบนไม้ยางพาราได้อย่างสมบูรณ์เป็นเวลากว่า 12 สัปดาห์ในสภาวะ 25 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดการกัดกินของปลวกได้อย่างสมบูรณ์ จากการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคพบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับชิ้นไม้ที่ทาสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูมากกว่าชิ้นไม้ที่ทาสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยจากอบเชย จากการทดลองนี้ทำให้ทราบความเป็นไปได้ในการนำสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยมาใช้จริงบนไม้ยางพาราเพื่อป้องกันเชื้อราและปลวก


re22

ภาพที่ 1ไม้ยางพาราที่ทาด้วยสีน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยภายหลังจากการเก็บรักษาไว้นาน 12 สัปดาห์


po

ภาพที่ 2 ไม้ยางพาราที่ทาด้วยสีน้ำที่ไม่ได้ผสมน้ำมันหอมระเหยหลังจากการเก็บรักษาไว้นาน 14 วัน

 

อ้างอิงจาก

Narumol Matan, Nirundorn Matan. 2012. Waterborne paints modified with essential oils as bio-protective coatings for rubberwood. Journal of Tropical Forest Science 24(4): 528-537.

แหล่งทุน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.