เส้นใยพืชกระจูดอบน้ำมันหอมระเหย

jud2_1

     เส้นใยพืชกระจูดสามารถนำมาใช้ผลิตของใช้ได้หลายชนิด เช่น กระเป๋า ตะกร้า ซึ่งเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวในการต้านทานเชื้อราบนผิวของเส้นใยกระจูด จากการทดลองอบเส้นใยพืชกระจูดที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสด้วยไอของน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวพบว่าเชื้อราไม่สามารถเจริญบนเส้นใยของกระจูดนั้นได้กว่า 6 เดือน โดยกลิ่นมะนาวในเส้นใยพืชกระจูดได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก ดังนั้นไอของน้ำมันหอมระเหยจึงสามารถใช้ในการต้านเชื้อราบนผิวของกระจูดได้ ขณะนี้ทางห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแล้ว

 

 

 

                                        sem_3      sem2_2

                                                              (ก)                                                            (ข)

                    ภาพที่ 1 สปอร์ของเชื้อราที่ไม่สามารถงอกได้บนเส้นใยพืชกระจูดอบน้ำมันหอมระเหย (ก) เชื้อราที่เจริญบนเส้นใยกระจูดที่ไม่ได้อบด้วย

                                น้ำมันหอมระเหย (ข)

 

อ้างอิงจาก

Narumol Matan, Nirundorn Matan, Saichol Ketsa. 2013. Enhanced inhibition of Aspergillus niger on sedge (Lepironia articulate) treated with heat-cured lime oil. Journal of Applied Microbiology 115: 376-378.

แหล่งทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.