การพัฒนาวัสดุดูดซับน้ำมันหอมระเหยจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้แก่ เส้นใยมะพร้าว ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และเส้นใยปาล์ม

🇹🇭🇮🇹 การพัฒนาวัสดุดูดซับน้ำมันหอมระเหยจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้แก่ เส้นใยมะพร้าว ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และเส้นใยปาล์ม ผลงานสุดสร้างสรรค์ของ นางสาวปรางทิพย์ ปฤชานนท์ นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยและนักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรม (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร) สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยการค้นพบนี้เป็นผลงานร่วมกันของทีมที่ปรึกษาชาวไทยและชาวต่างประเทศได้แก่ รศ.ดร.นฤมล มาแทน และ รศ.ดร.นิรันดร มาแทน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ Prof.Dr.Sara Limbo และ Dr. Paolo D’Incecco จาก PackLab, Food packaging laboratory, University of Milan ประเทศอิตาลี ภายใต้โครงการทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก)
🎉การใช้ประโยชน์จากเส้นใยนี้จะทำให้ได้วัสดุดูดซับที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อทำให้อาหารปลอดภัยได้ โดยเส้นใยดังกล่าวจะถูกนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง ย่อยสลายได้ ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีราคาถูก
👉สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Prangthip Parichanon, Nirundorn Matan, Sara Limbo, Paolo D’Incecco, and Narumol Matan (2021) BioResources (ISI)
ที่มา: https://web.facebook.com/EOlab80160/photos/a.342428583173155/941080059974668

About eoadmin

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.