พบฤทธิ์ต้านเชื้อราจาก…ไอร้อนของน้ำมันหอมระเหย

1

       การพัฒนาไอร้อนจากน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมเพื่อนำมาทำการเคลือบลงบนวัสดุเซลลูโลส เช่น กระจูด ไม้ยางพารา และกาบหมาก ได้ดำเนินงานวิจัยมาร่วม 2 ปีแล้ว ซึ่งการกระตุ้นให้น้ำมันหอมระเหยออกฤทธิ์เพิ่มมากขึ้นในอุณหภูมิสูงจะช่วยทำให้ลดปริมาณของน้ำมันหอมระเหยลงได้ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่จำเป็นต้องใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต

        จากการทดลองของนักวิจัยในห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมสามารถออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นหากใช้ไอน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70-90 องศาเซลเซียสมาทำการกระตุ้นการระเหย โดยจากการวัดอัตราการระเหยของสารออกฤทธิ์พบว่าสารระเหยที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อรา มดและเมลงในน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมสามารถระเหยสู่บรรยากาศในอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิ 70-90 องศาเซลเซียส ก่อนที่จะรวมตัวกันเพื่อกลั่นเป็นหยดน้ำและเคลือบลงบนวัสดุเซลลูโลสได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้สามารถนำมาใช้ในการเคลือบผิวของเส้นใยเซลลูโลสได้อย่างทั่วถึงรวมถึงมีความคงทนต่อการใช้งาน

อ้างอิงจาก

Sopa Jantamas, Narumol Matan, Nirundorn Matan, Tanong Aewsiri. 2015. Improvement of antifungal activity of citronella oil against Aspergillus flavus on rubberwood (Hevea brasiliensis) using heat curing, Journal of Tropical Forest Science (Accepted Manuscript)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.