นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ พบวิธีการถนอมข้าวเปลือกและข้าวกล้องโดยใช้แผ่นรากผักตบชวาที่มีไอของน้ำมันหอมระเหย

 ข้าวเปลือกและข้าวกล้องเป็นหนึ่งในธัญพืชที่มีความสำคัญของโลก และประเทศไทยเป็นประเทศหลักของผู้ส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว ปัญหาหนึ่งของการเก็บรักษาข้าวเป็นเวลานานคือการพบการเจริญของเชื้อรา ดังนั้นการคิดค้นวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกและข้าวกล้องเป็นระยะเวลานานก่อนจำหน่ายจึงช่วยผูhประกอบการและผู้ขายได้ ทั้งนี้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผศ.ดร.นฤมล มาแทน และทีมงานวิจัยของห้องปฏิบัติการนวัตกรรมน้ำมันหอมระเหยสำหรับความปลอดภัยในอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ทำการพัฒนาแผ่นต้านเชื้อราจากรากผักตบชวาผสมไอธรรมชาติของน้ำมันหอมระเหยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาข้าวเปลือกและข้าวกล้อง และจากการคิดค้นพบว่ารากผักตบชวาสามารถนำมาพัฒนาเป็นแผ่นดูดซับน้ำมันหอมระเหยได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีขนาดเส้นใยที่พอเหมาะ และเมื่อนำแผ่นรากผักตบชวามาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้และใช้ในการบรรจุข้าวกล้องหรือข้าวเปลือกเพื่อให้ไอของน้ำมันหอมระเหยช่วยรักษาผิวหน้าของข้าวกล้องและข้าวเปลือกให้ปราศจากเชื้อราพบว่า วิธีการนี้ช่วยในการรักษาข้าวเปลือกและข้าวกล้องให้ปราศจากเชื้อรา รวมถึงแมลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และมีฤทธิ์ยาวนานกว่า 1 ปี และยังช่วยให้ข้าวที่บรรจุภายในถุงมีกลิ่นหอมของดอกไม้ ซึ่งวิธีการที่คิดค้นนี้มีราคาถูก สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมได้จริง ทั้งนี้งานวิจัยนี้กำลังนำไปขยายผลในระดับอุตสาหกรรมการผลิตข้าว เพื่อรักษาคุณภาพให้ยาวนานเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

      งานวิจัยดังกล่าวได้รับงบประมาณวิจัยอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี (2557-2559) จากหน่วยงานหลักของประเทศ คือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.)

รายละเอียดเพิ่มเติม

Sumethee Songsamoe, Narumol Matan, Nirundorn Matan. 2016. Effect of UV-C radiation and vapor released from a water hyacinth root absorbent containing bergamot oil to control mold on storage of brown rice. Journal of Food Science and Technology 53(3):1445-1453 (ISI: Impact factor: 2.203)

Kitiya Suhem, Narumol Matan, Nirundorn Matan, Sorasak Danworaphong, Tanong Aewsiri, 2015. Improvement of the antifungal activity of Litsea cubeba vapor by using a helium-neon (HeNe) laser against Aspergillus flavus on brown rice snack bars. International Journal of Food Microbiology 215: 157-160. (ISI: Impact factor: 3.082).

One comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.